เมนู

เสขปริหานิยวรรควรรณาที่ 4


อรรถกถาเสกขสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเสกขสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เสขสฺส ได้แก่ พระเสขบุคคล 7 จำพวก. สำหรับใน
ปุถุชน ไม่มีอะไรที่จะต้องพูดถึงเลย. บทว่า ปริหานาย ความว่า เพื่อ
เสื่อมจากคุณความดีเบื้องสูง.
จบอรรถกถาเสกขสูตรที่ 1

2. ปฐมอปริหานิยสูตร


ว่าด้วยอปริหานิยธรรม 6


[303] ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมี
งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ
ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา 1 ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม 1 ความ
เป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ 1 ความเป็นผู้เคารพในสิกขา 1 ความเป็นผู้เคารพ
ในความไม่ประมาท 1 ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร 1 ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดา

นั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดาองค์นั้น
ทราบว่า พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้น.
ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มี
รัศมีงามยิ่ง ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา 1 ความ
เป็นผู้เคารพในพระธรรม 1 ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ 1 ความเป็นผู้
เคารพในสิกขา 1 ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท 1 ความเป็นผู้
เคารพในปฏิสันถาร 1 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้แล ย่อม
เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาองค์นั้นได้กล่าว
ดังนี้แล้ว อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น.
ภิกษุผู้เคารพในพระศาสดา เคารพ
ในพระธรรม เคารพอย่างแรงกล้าในพระ
สงฆ์ เคารพในความไม่ประมาท เคารพ
ในปฏิสันถาร ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อม
ย่อมมี ณ ที่ใกล้นิพพานทีเดียว.

จบปฐมอปริหานิยสูตรที่ 2

อรรถกถาปฐมอปริหานิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอปริหานิยสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้:-
ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชื่อว่า สตฺถุคารวตา. ความเป็นผู้
เคารพในโลกุตรธรรม 9 อย่าง ชื่อว่า ธมฺมคารวตา. ความเป็นผู้
เคารพในพระสงฆ์ ชื่อว่า สงฺฆคารวตา. การกระทำความเคารพใน
สิกขา 3 ชื่อว่า สิกฺขาคารวตา. ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท
ชื่อว่า อปฺปมาทคารวตา. ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร 2 อย่าง
ด้วยสามารถแห่งธรรม และอามิส ชื่อว่า ปฏิสณฺฐารคารวตา.
ภิกษุชื่อว่า สตฺถุครุ เพราะมีความเคารพในพระศาสดา. ภิกษุ
ชื่อว่า ธมฺมครุ เพราะมีความเคารพในพระธรรม. ความเคารพอย่างหนัก
ชื่อว่า ติพฺพคารโว. ภิกษุชื่อว่า ปฏิสณฺฐารคารโว เพราะมีความเคารพใน
ปฏิสันถาร.
จบอรรถกถาปฐมอปริหานิยสูตรที่ 2

3. ทุติยอปริหานิยสูตร


ว่าด้วยอปริหานิยธรรม 6 ประการ


[304] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐม-
ยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้า
มาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไป